เจาะลึกวงจรชีวิตเส้นผมตั้งแต่เกิดจนหลุดร่วง จากรากผมถึงปลายผม
13 พ.ค. 2568 16:55 น.
เจาะลึกวงจรชีวิตเส้นผมตั้งแต่เกิดจนหลุดร่วง จากรากผมถึงปลายผม

คุณเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า ทำไมเส้นผมของเราถึงยาวไม่เท่ากัน ผมบางเส้นยาวจรดเอว ผมบางเส้นเพิ่งโผล่พ้นหนังศีรษะ หรือทำไมบางวันเห็นผมร่วงเต็มหมอน แต่บางวันแทบไม่เห็นผมร่วงเลย เพราะเส้นผมก็มีวงจรชีวิตเช่นเดียวกัน เนื่องจากเส้นผมของเราไม่ได้เติบโตพร้อมกันทั้งศีรษะ เส้นผมแต่ละเส้นมีช่วงชีวิตเป็นของตัวเอง คล้ายนาฬิกาชีวิตที่เดินไปตามจังหวะที่ธรรมชาติกำหนด บางเส้นกำลังอยู่ในช่วงเติบโตเต็มที่ บางเส้นกำลังเข้าสู่ช่วงพักตัว และบางเส้นก็พร้อมจะหลุดร่วงเพื่อให้เส้นใหม่งอกขึ้นมาแทน การหมุนเวียนเช่นนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับวงจรชีวิตของเส้นผมให้ลึกซึ้ง เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจและดูแลเส้นผมได้อย่างถูกต้องตรงจุด

เจาะลึกวงจรชีวิตเส้นผม

วงจรชีวิตของเส้นผมแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ได้แก่ ระยะเจริญเติบโต (Anagen) ระยะถดถอย (Catagen) และระยะพัก (Telogen) แต่ละระยะมีความสำคัญต่อการเติบโตของเส้นผมแตกต่างกันไป

  • ระยะเจริญเติบโต (Anagen) ช่วงเวลาแห่งการงอกงาม

    • ระยะนี้เป็นช่วงที่เส้นผมมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-6 ปี ในระยะนี้รากผมจะได้รับสารอาหารจากหลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบๆ ต่อมรากผม ทำให้เส้นผมยาวขึ้นประมาณ 1 เซนติเมตรต่อเดือน เส้นผมของเราประมาณ 85-90% อยู่ในระยะนี้

  • ระยะถดถอย (Catagen) ช่วงเปลี่ยนผ่านสั้นๆ

    • เมื่อเส้นผมเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะเข้าสู่ระยะถดถอยที่ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของเส้นผมจะหยุดลง รากผมจะเริ่มหดตัวและแยกออกจากต่อมรากผม ประมาณ 1-2% ของเส้นผมทั้งหมดอยู่ในระยะนี้

  • ระยะพัก (Telogen) ช่วงพักตัวก่อนเริ่มใหม่

    • ระยะสุดท้ายคือระยะพัก ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน เส้นผมจะหยุดการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และรอการหลุดร่วงออกไปตามธรรมชาติ โดยมีเส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทนที่ ประมาณ 10-15% ของเส้นผมทั้งหมดอยู่ในระยะนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเห็นผมร่วงวันละประมาณ 50-100 เส้นได้ตามปกติ

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

ทำความรู้จักโครงสร้างของเส้นผม

ผมร่วงผมบางเป็นปัญหากวนใจสำหรับหลายคน ใครๆ ก็ไม่อยากมีหัวล้าน แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องเส้นผมและหนังศีรษะให้มากขึ้น บวกกับการดูแลอย่างถูกวิธี ปัญหาผมร่วงผมบางก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ซึ่งเส้นผมของเราประกอบไปด้วยโปรตีน เคราติน เป็นหลัก โดยมีธาตุต่างๆ เช่น คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ซัลเฟอร์ และไนโตรเจน ในรูปของกรดอะมิโนและแร่ธาตุ ซึ่งผมของเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่อยู่เหนือหนังศีรษะและส่วนที่ฝังอยู่ใต้หนังศีรษะ มาดูกันว่าแต่ละส่วนมีโครงสร้างและหน้าที่อย่างไรบ้าง

เส้นผมส่วนที่อยู่เหนือหนังศีรษะ เรียกว่า Hair Shaft ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ

  1. เกร็ดผม (Cuticle) เป็นชั้นนอกสุดที่สร้างจากเคราตินชนิดแข็ง ช่วยปกป้องเส้นผมให้มีความเงางาม ถ้าชั้นนี้มีความสมบูรณ์ดีเส้นผมจะดูสุขภาพดีไปด้วย

  2. เนื้อผม (Cortex) เป็นชั้นที่หนาที่สุดเป็นแหล่งรวมของเม็ดสีผม ซึ่งมีเส้นใยโปรตีนที่ช่วยให้ผมนุ่มและยืดหยุ่นได้

  3. แกนผม (Medulla) อยู่ชั้นในสุดที่สร้างจากโปรตีนและไขมัน ชั้นนี้ไม่ได้มีบทบาทมากนักในการทำงานของเส้นผม

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

ส่วนรากผม (Hair Root) ส่วนนี้อยู่ใต้หนังศีรษะของเราจะมีรูปทรงเหมือนหลอดปากแคบ เรียกว่า Hair Follicle ตรงปลายของรากผมจะมีลักษณะป่องออกเป็นกระเปาะคล้ายหัวคีมที่เรียกว่า Hair Bulb ซึ่งมีส่วนสำคัญคือ ปุ่มปลายแหลม (Papilla) ที่มีเลือดและเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยง ทำให้เซลล์ผมที่รากผมสามารถแบ่งตัวเกิดผมใหม่ได้เรื่อยๆ คนที่หัวล้านเป็นเพราะเกิดจากเซลล์ของปุ่มปลายแหลมนี้ได้ตายหรือฝ่อไป จึงทำให้ผมขาดสารอาหารและหลุดร่วงโดยไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่

นอกจากนั้น บริเวณใกล้ๆ รากผมจะมีต่อมน้ำมันที่คอยหลั่งน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงผมให้ดูเงางามอีกด้วย ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ปกติจะมีต่อมรากผมประมาณ 5 ล้านต่อมแต่จำนวนก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น รูปลักษณ์ของเส้นผม เช่น ผมตรง ผมหยิก หรือสีผมดำ น้ำตาล ก็ขึ้นกับชนิดและปริมาณเม็ดสีที่อยู่ในส่วนของเนื้อชั้นนอกของเส้นผม (Cortex) ด้วยเช่นกัน

เห็นไหมล่ะว่าผมของเรานั้นมีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน การดูแลเส้นผมให้ดูสวยมีสุขภาพที่ดี จึงต้องอาศัยความใส่ใจ พร้อมกับการบำรุงผมทั้งภายนอก เช่น การสระผม การบำรุงผมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม หรือทำทรีตเมนต์เพื่อรักษาเส้นผม และภายใน เช่น การกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ของเส้นผมให้แข็งแรง เพราะผมที่สวยต้องมาจากสุขภาพที่ดีด้วย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อวงจรชีวิตเส้นผม

วงจรชีวิตของเส้นผมเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อน ซึ่งอาจถูกรบกวนได้จากหลายปัจจัย มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเติบโตของเส้นผมเรา

  • พันธุกรรมและฮอร์โมน

    • ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือพันธุกรรมและฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เมื่อมีระดับ DHT สูงจะทำให้วงจรระยะ Anagen สั้นลง ส่งผลให้เส้นผมบางลงและร่วงเร็วขึ้น โดยมักพบในผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นศีรษะล้าน

    • ในผู้ชายมักพบปัญหาผมบางจากพันธุกรรมบริเวณกลางศีรษะและขมับ เนื่องจากรากผมมีความไวต่อฮอร์โมน DHT สูง ส่วนในผู้หญิงมักพบการร่วงแบบกระจายทั่วศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะและแนวแสกผม

    • ผู้หญิงอาจพบภาวะผมร่วงจากฮอร์โมนได้ในหลายกรณี เช่น ภาวะ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) ที่มีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง ช่วงหลังคลอดบุตรที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วัยหมดประจำเดือนที่ระดับเอสโตรเจนลดลง ภาวะไทรอยด์ผิดปกติที่ส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน เป็นต้น

  • สภาวะทางร่างกาย

    • ความเครียด ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น กระทบต่อการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อวงจรการเติบโตของเส้นผมและรบกวนการทำงานของต่อมรากผม

    • การเจ็บป่วย โรคต่างๆ เช่น ไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) สามารถกระทบต่อวงจรการเติบโตของเส้นผมได้

    • การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินบี ธาตุเหล็ก และสังกะสี ที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผม

  • ปัจจัยภายนอก

    • การใช้ความร้อน ไดร์ผม หนีบผม ทำให้เส้นผมเสียโครงสร้างและอ่อนแอ

    • สารเคมี การย้อมผม ดัดผม หรือยืดผมบ่อยๆ ทำลายโครงสร้างเส้นผมและรบกวนการเติบโต

    • มลภาวะ ฝุ่น ควัน และรังสี UV สามารถทำลายเส้นผมและรบกวนการทำงานของต่อมรากผม

    • การดึงรั้งเส้นผม การรวบผมแน่นเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์จัดแต่งทรงที่ดึงรั้งผมมากเกินไป

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

    • การตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ผมดูหนาและแข็งแรง แต่หลังคลอดอาจพบผมร่วงมากผิดปกติ

    • วัยทอง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยทองส่งผลให้เส้นผมบางลง

  • ยาและการรักษา

    • เคมีบำบัด ส่งผลกระทบรุนแรงต่อวงจรการเติบโตของเส้นผม

    • ยาบางประเภท เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยารักษาสิว ยาลดความดัน สามารถรบกวนวงจรการเติบโตของเส้นผมได้

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

การดูแลเส้นผมให้แข็งแรงดูสุขภาพดีตลอดวงจรชีวิตเส้นผม

โภชนาการเพื่อเส้นผม เส้นผมต้องการสารอาหารครบถ้วนเพื่อการเติบโตที่แข็งแรง

  • โปรตีนคุณภาพดี: ไข่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ถั่วเหลือง และควินัว ช่วยสร้างโครงสร้างเคราติน

  • ธาตุเหล็ก: เนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม ช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงรากผม

  • ซิงค์ (Zinc) หรือสังกะสี: หอยนางรม หอยแมลงภู่ ปู กุ้งมังกร เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง ช่วยซ่อมแซมเซลล์และกระตุ้นการเจริญเติบโต

  • วิตามินซี (Vitamin C): ฝรั่ง ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ พริกหวาน บลอกโคลี หรือผักคะน้า ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น 

  • วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex): ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว ตับ เนื้อหมู เนื้อไก่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากนม ช่วยในการสร้างเซลล์และกระตุ้นการเติบโต
  • วิตามินเอ (Vitamin A): ผักสีส้ม ผักสีเหลือง ผักสีเขียวเข้ม น้ำมันตับปลา และเครื่องในสัตว์ ช่วยให้ผมแข็งแรง และกระตุ้นการเติบโตของผม

  • วิตามินอี (Vitamin E): อัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ช่วยต้านอนุมูลอิสระและบำรุงหนังศีรษะ

  • โอเมก้า 3 (Omega 3): ปลาทะเล เมล็ดเจีย วอลนัท และน้ำมันคาโนล่า ช่วยบำรุงเส้นผมจากภายใน

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

การดูแลหนังศีรษะ เพราะหนังศีรษะที่แข็งแรงคือพื้นฐานของเส้นผมที่สวยงาม

  • สระผมให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ ใช้แชมพูที่เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ

  • นวดหนังศีรษะเบาๆ ระหว่างสระผมเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

  • รักษาความชุ่มชื้นของหนังศีรษะด้วยผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์สูงซึ่งทำให้หนังศีรษะแห้ง

  • ทำความสะอาดหวีและแปรงสระผมสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

การปกป้องจากความเสียหายภายนอก

  • ลดการใช้ความร้อนในการจัดแต่งทรง หากจำเป็นให้ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อน

  • หลีกเลี่ยงการรวบผมแน่นเกินไป เปลี่ยนตำแหน่งการรวบผมบ่อยๆ

  • ใช้หมวกหรือร่มกันแดดเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง

  • เลือกใช้หมอนผ้าไหมหรือผ้าซาตินเพื่อลดการเสียดสีขณะนอน

  • ระวังการใช้อุปกรณ์จัดแต่งทรงผมที่อาจดึงรั้งเส้นผมมากเกินไป

การดูแลในสถานการณ์พิเศษ

  • ช่วงตั้งครรภ์: เสริมวิตามินรวมและธาตุเหล็กตามคำแนะนำของแพทย์

  • ช่วงหลังคลอด: ให้เวลาร่างกายปรับสมดุลฮอร์โมน ทานอาหารครบ 5 หมู่

  • ช่วงมีความเครียด: พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดการความเครียด

  • ช่วงหลังมีอาการป่วย: เพิ่มสารอาหารบำรุงผม พักฟื้นร่างกายให้เต็มที่

การตรวจวัดสุขภาพเส้นผม

  • สังเกตปริมาณผมร่วงในแต่ละวัน

  • สังเกตความมันของหนังศีรษะ

  • สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเส้นผม เช่น ความหนา ความเงางาม

  • หากพบความผิดปกติของเส้นผมและหนังศีรษะ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

บำรุงผมด้วยการทำทรีตเมนต์เพื่อเป็นอาหารเสริมบำรุงเส้นผม

  • โปรแกรม Hair Formular Shot ช่วยฟื้นฟูหนังศีรษะ พร้อมซ่อมแซมเส้นผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง เป็นตัวช่วยจบปัญหาผมร่วง ผมบาง ช่วยเพิ่มผมหนา

  • โปรแกรม Hair Booster บูสต์ผมหนา ลดผมร่วง จบปัญหาผมบาง ผมอ่อนแอได้อย่างตรงจุด

  • โปรแกรม Hair Stem Cell เป็นเทคโนโลยีการปลูกผมแบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยหลักการซ่อมแซมเซลล์รากผมด้วยเซลล์ของตัวเอง

  • โปรแกรม Hair Fraxel เป็นนวัตกรรมการยิงเลเซอร์ลงไปที่บริเวณศีรษะ ช่วยกระตุ้นเซลล์รากผมให้รากผมเดิมที่เสื่อมสภาพมีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น

  • โปรแกรม Pora Cool Hair ช่วยผลักวิตามินรักษาผมบาง ลดผมร่วง ด้วยพลังงานแสง LED ที่มีด้วยกันทั้งหมด 3 สี

  • โปรแกรม LED Hair Therapy เทคโนโลยีฉายแสงที่ช่วยแก้ปัญหาผมบาง เข้าไปกระตุ้นได้ลึกถึงรากผม โดยไม่มีผลข้างเคียง

วงจรเส้นผม, ปลูกผม, ปลูกคิ้ว, รากผม, ผมร่วง, ผมบาง

หวังว่าความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตเส้นผมและโครงสร้างของเส้นผมนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจการทำงานของเส้นผมกันมากขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลบำรุงเส้นผมให้สวยสุขภาพดีอย่างถูกวิธี ถ้ามีปัญหาเรื่องผมเมื่อไหร่ สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการที่ Hair Clinique by SLC กันได้เลย เพื่อผมสวยเงางามและแข็งแรงอย่างยั่งยืน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อจองคิวได้ที่นี่เลย!
สาขาสยามสแควร์ ซอย 2 | โทร: 095-406-9423 / 095-406-9424 
สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 3 | โทร: 088-693-0532
สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้น 7 | โทร: 080-245-7886 
สาขา ONE BANGKOK ชั้น 4 | โทร: 095-369-9668


ปลูกผม ที่ไหนดี
สอบถามข้อมูลปลูกผมเพิ่มเติม
Tel: 02-001-3530-1
Facebook: HairCliniquebySLC
Line: @HairCliniquebySLC


 
Related